ไอ้ด่างเกยไชย

ไอ้ด่างเกยชัย ตำนานจระเข้ร้ายที่ใคร ๆ ต่างก็กล่าวถึงความดุร้ายของมัน

ไอ้ด่างเกยชัย เป็นภาพยนตร์ไทยที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2531 บอกเล่าตำนานจระเข้กินคนอันแสนดุร้ายที่ออกอาละวาดในอดีต มันโผล่มากัดกินเอาคนไปฆ่าหลายราย จนทางการต้องจัดทีมไล่ล่าฆ่าจระเข้ตัวนี้ อย่างไรก็ตาม แฟนภาพยนตร์รวมทั้งเด็กๆ ในยุคสมัยใหม่อาจจะเข้าใจผิดในเรื่องจระเข้ตัวนี้ไปบ้าง เหตุผลนั้นก็เพราะจริงๆแล้วชื่อจระเข้ที่ชื่อไอ้ด่างเกยชัยนั้น มันไม่ได้เกิดในยุคสมัยเดียวกับในภาพยนตร์แต่อย่างใด เพราะความจริงแล้วเรื่องราวที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์มันคือเรื่องราวของจระเข้ไอ้ด่างคลองบางมุดต่างหาก

ไอ้ด่างเกยชัย

ไอ้ด่างเกยชัย เรื่องเล่าของกรมพระยาดำรงราชานุภาพในรัชกาลที่ 5

หากเรามองย้อนไปในอดีต จระเข้ที่ถือเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าถึงความดุร้ายไล่กินผู้คนมาในอดีตนั้น มีอยู่ 3 ตัวด้วยกัน เริ่มต้นตัวแรกนั่นก็คือจระเข้ที่ชื่อชาลาวัน หรือตำนานจระเข้ชาละวันกับหมอจระเข้ไกรทองที่เราเคยได้ยินเรื่องเล่าเป็นนิทาน หรือตำนานพื้นบ้านของเมืองพิจิตรมานานนั้นเอง โดยจริงๆ แล้วชื่อเดิมที่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำน่าน ในเขตเมืองพิจิตรได้ตั้งชื่อให้มานั้นก็คือไอ้ตาละวัน

เหตุผลนั้นก็เพราะการโผล่ออกมาแต่ละครั้งของมัน จะโผล่มาประมาณ 1 ครั้งต่อวัน และทุกครั้งที่โผล่มามันก็จะจับคนไปกินได้สำเร็จแทบทุกครั้ง ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีมันเป็นจระเข้ตัวเล็กๆที่ตายายชาวเมืองพิจิตรแห่งนี้ได้ไปเอามาเลี้ยงในบ่อน้ำหลังบ้านเขานึกสงสารแต่ที่ไหนได้พอมันโตขึ้นก็จับตาและยายที่เลี้ยงมันมากินจากนั้นก็หนีลงแม่น้ำไปอาละวาดไล่ฆ่าคน

ไอ้ด่างเกยชัย

ซึ่งในเวลาต่อมามีการเรียกผิดกลายเป็นชื่อชาละวันแทน จนกระทั่งมีนายไกรทองซึ่งเป็นชาวเมืองนนทบุรีได้เดินทางเพื่ออาสาตนจะไปช่วยปราบจระเข้นั้นได้สำเร็จ จนชาวบ้านแถวนั้นได้สร้างวัดบางไกรในถ้าเป็นอนุสรณ์ให้กับนายไกรทอง ด้วยเรื่องเล่าในเรื่องมีการเอ่ยถึงเจ้าเมืองผู้ปกครองเมืองพิจิตรจึงสันนิษฐานกันว่าเรื่องจริงอาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงยุคโบราณที่พิจิตร ยังมีเจ้าเมืองปกครองอยู่นั้นเอง จระเข้ตัวต่อมานั่นก็คือไอ้ด่างเกยชัย จระเข้ที่เราคุ้นหูซึ่งเราเอ่ยถึงมาตั้งแต่ต้นบทความนี้

โดยมันปรากฏในบันทึกเรื่องเล่าของกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่ามันเป็นจระเข้ที่ออกอาละวาดที่แม่น้ำหน้าบริเวณบ้านมีชัย ในจังหวัดนครสวรรค์ ในช่วงเวลาที่รัชกาลที่ 5 ทรงครองราชย์อยู่ ด้วยความที่มีรอยดําที่จมูกจึงถูกเรียกว่าไอ้ด่างเกยชัย ซึ่งสุดท้ายบันทึกได้บอกว่ามีหมอจระเข้รวมตัวกันหลายคนใช้หอกแทงมันจนตาย แถมยังบอกอีกว่ามีฝรั่งมาขอซื้อหัวของจระเข้ยักษ์ตอนนี้ไปด้วย

ไอ้ด่างเกยชัย

สำหรับจระเข้ที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์บ่อยที่สุดกลับเป็นไอ้ด่างคลองบางมุด เนื่องจากมันออกอาละวาดในช่วงปี พ.ศ. 2507 ซึ่งมีทั้งสำนักข่าวลงข่าวในหนังสือพิมพ์หลายฉบับทำให้คนรู้จักกันทั่ว จากจระเข้มันอาละวาดจับคนไปกินที่อำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพร ทำให้เป็นเพียงตัวเดียวที่มีหลักฐานชัดเจนที่สุดว่ามีตัวตนจริง

โดยจระเข้ตัวนี้มันไล่จับกินคนไปหลายคนพอดูจนกระทั่งหน่วยงานราชการทั้งทหารและตำรวจได้รวมตัวกันกับอาสาสมัครไล่ล่ามันจนกระทั่งไปเจอแหล่งกบดานของมัน ทำให้พวกเขาได้ใช้ระเบิดยัดเข้าไปในถ้ำระเบิดตูมฆ่าจระเข้ตัวนี้จนตายไปในที่สุด หากแต่ชื่อไอ้ด่างคลองบางมดในปัจจุบันกับมีคนรู้จักน้อยในขณะที่ไอ้ด่างเกยชัยกลับรู้จักชื่อกันมากกว่า ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ได้เอาชื่อไอ้ด่างเกยชัยมาเป็นชื่อภาพยนตร์ที่สร้าง ตามเค้าโครงเรื่องราวของเจ้าจระเข้ด่างคลองบางมุดแทน ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล JokerGame ที่มอบแต่สิ่งที่น่าสนใจให้เรามาโดยตลอด

รีวิวหนังที่ไม่เหมือนใคร เว็บไซต์ รีวิวภาพยนตร์ หนังต่างประเทศ ซีรี่ย์ทั่วโลกแบบตรงชัดจัดเต็มทุกประเด็น รีวิวตรงๆ ไม่อ้อมค้อม