รีวิว 3 หนังชีวประวัติ ต้นกำเนิดนักคณิตศาสตร์ชื่อก้องโลก ดูจบแล้วมีแรงบันดาลใจ

หนังชีวประวัติ Films

หนังชีวประวัติ คือหนังที่สร้างโดยอิงชีวประวัติของคนจริง เนื้อเรื่องอาจมีการเสริมแต่งเรื่องราวตัวบทไปบ้าง ลงดีเทลล์เพิ่มเติมเพื่ออรรถรสของหนัง แต่ได้เค้าโครงมาจากเรื่องจริงของคนจริง ส่วนใหญ่จะนำมาจากชีวประวัติ เรื่องราวชีวิตของคนที่มีชื่อเสียง แต่หนังชีวประวัติบางเรื่องก็ตีแผ่ชีวิตของบางคนที่โลกไม่รู้จักให้กลับโด่งดังขึ้นมา

ภาพลอนดอนยุค 1920

นอกจากนี้เราจะได้เห็นด้วยว่า หนังชีวประวัติ มักจะอิงเรื่องราวภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ช่วงเวลาในอดีต มีฉาก เหตุการณ์ วัฒนธรรม การแต่งกายที่ทำให้เราย้อนคิดถึงกลิ่นอายในวันวานด้วยครับ บางเรื่องยังเกี่ยวเนื่องถึงด้านสังคม การเมือง สงคราม การต่อสู้ทางชนชั้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมและอื่นๆ ด้วย หนังชีวประวัติจึงมีความน่าสนใจอย่างมาก วันนี้ผมจึงขอนำเสนอรีวิว 3 หนังชีวประวัติ ต้นกำเนิดนักคณิตศาสตร์ชื่อก้องโลก ดูจบแล้วมีแรงบันดาลใจ มาดูกันว่าแต่ละเรื่องคืออะไรกันบ้างครับ

…………………….

หนังชีวประวัติ คณิตศาสตร์ เเนะนำ
  • The Imitation Game ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก (2014)

The Imitation Game ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก เป็นภาพยนตร์แนวชีวประวัติที่เน้นถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เป็นเเนวดราม่า มีบางตอนที่อาจจะยืดๆ ไปบ้างครับ แต่โดยรวมถือว่าดีมากๆ ตอนดูเรื่องนี้จบ ยอมรับเลยว่ารู้สึกมีแรงบันดาลใจอยากลุกขึ้นมาทุ่มเทแรงใจแรงกายให้กับงาน ความพยายามมันต้องได้รับผลลัพธ์ที่ในสักวัน

เบเนดิกต์ รับบท แอรัน ทัวริง ใน The Imitation Game
แอรัน ทัวริง

เรื่องราวของ The Imitation Game กล่าวถึงช่วงระหว่างการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างที่เยอรมันกำลังทำสงครามกับนานาประเทศอยู่นั้น ฝ่ายทหารนาซีเยอรมันใช้เครื่องอินิกมา (Enigma Machine) ซี่งเป็นเครื่องที่ถูกประดิษฐ์มาเพื่อใช้ส่งรหัสลับในเชิงพาณิชย์เมื่อปี 1920 ต่อมาในช่วงสงครามโลก ทหารลับเยอรมันใช้อินิกมาส่งรหัสลับถึงกันระหว่างกองทัพ ซึ่งการเข้ารหัสอินิกมาถูกประดิษฐ์ให้มีความซับซ้อนขึ้นเป็นอย่างมาก ต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ระดับสูงเพื่อหาคำตอบ กองทัพเยอรมันจึงมั่นใจสุดๆ ว่าจะไม่มีใครถอดรหัสลับเหล่านี้ได้ และความยากของอินิกมาก็คือจะส่งรหัสลับนี้ออกไปและจะเปลี่ยนรหัสเรื่อยๆ ภายใน 24 ชั่วโมง หากยังถอดรหัสชุดนั้นไม่สำเร็จก็จะต้องเริ่มคำนวณสูตรใหม่ตั้งแต่ต้น

หนังชีวประวัติ แอรัน ทัวริง เครื่องอินิกมา
Enigma Machine

ต่อมาประเทศอังกฤษและทางฝ่ายสัมพันธมิตรได้ถอดรหัสอินิกมาของเยอรมันได้สำเร็จโดยนักคณิตศาสตร์ชื่อก้องโลก “แอรัน ทัวริง” และเรื่องราวของเขานี่เองจึงถูกนำมาสร้างเป็น The Imitation Game เรื่องนี้ครับ คุณจะได้เห็นความอัจฉริยะของเขาชัดๆ ว่าแอรันไม่เพียงเก่งเรื่องสูตรคำนวณเท่านั้น ยังเก่งเรื่องการประดิษฐ์เครื่องมือที่ทำให้ยุคต่อมาถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ให้กำเนิดไอเดียวิทยาการทางคอมพิวเตอร์อีกด้วย แอรันจึงเป็น Hero ที่ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะสงครามโลกครั้งที่ 2

หนังชีวประวัติ Imitation game
เบเนดิกต์ คอมเบอร์แบชท์
ฉากหนึ่งใน The Imitation Game
Benedict Imitation Game

ในด้านของตัวบท นำแสดงโดย Benedict Cumberbatch นักแสดงชื่อเสียงโด่งดัง พี่หมอแปลกจากภาพยนตร์ Doctor Strange ของเรานั่นเอง เบเนดิกต์ถ่ายทอดบทบาทของตัวแสดงออกมาได้ดีมากๆ ครับ ซึ่งแอรันถือเป็นอัจฉริยะที่ค่อนข้างรักสันโดษ มีความมั่นใจในตัวเองสูง มีปัญหาในการเข้าสังคม ในเรื่องจึงแอบมีดราม่าอยู่ตลอดทั้งเรื่องเลย แต่ภาพในเรื่องถือว่าสวยงาม ฉากดี เป็นหนังชีวประวัตินักคณิตศาสตร์ยอดเยี่ยมที่อยากแนะนำเป็นอย่างยิ่งเลยครับ หนังเรื่องนี้เป็นหนังนอกกระแสที่ได้ทำเงินมากที่สุดในปีนั้นเลย

…………………….

Hidden Figures หนังชีวประวัติ ยอดนิยม
  • Hidden Figures ทีมเงาอัจฉริยะ (2016)

Hidden Figures ทีมเงาอัจฉริยะ เป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ที่สร้างปรากฏการณ์ดูจบแล้วมีแรงบันดาลใจ!! ใครที่ได้ดูหนังเรื่องนี้จบจะรู้สึกอิ่มเอมไปกับตัวละครอย่างไม่มีคำอธิบายจริงๆครับ Hidden Figures เป็น หนังชีวประวัติ ของหญิงผิวสีชาวอเมริกัน 3 คนที่เป็นตัวละครหลักของเรื่องนี้ เธอทั้งสามทำให้คนอเมริกันเปลี่ยนมุมมองต่อผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงผิวสีที่มีความอัจฉริยะ ความมั่นใจ และความกล้าหาญที่สามารถเปลี่ยนค่านิยมผู้ชายเป็นใหญ่ในยุคนั้นได้สำเร็จ และสร้างคุณค่าในตัวเองได้หากเชื่อมั่นว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ไม่ควรมีเรื่องเชื้อชาติ และสีผิวมาแบ่งแยก

ชีวประวัตินักคณิตศาสตร์
องค์การ NASA สหรัฐฯ
การทดลองปล่อยจรวดจาก Hidden Figures

Hidden Figures กล่าวถึงเรื่องราวของหญิงผิวสี 3 คนที่ได้ทำงานอยู่ในองค์การนาซ่า U.S.A. เมื่อราวๆ ปี 1960 ที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจเรื่องอวกาศโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา และรัสเซีย หนังเล่าถึงความสามารถของทั้ง 3 สาวที่คนหนึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ที่คิดค้นสูตรคำนวณวินาทีการปล่อยจรวดออกสู่บรรยากาศและสามารถสร้างสถิติในอวกาศครั้งแรกเกี่ยวกับการทดลองปล่อยจรวดอันเป็นวิวัฒนาการด้านการปล่อยจรวดในยุคต่อๆ มาได้สำเร็จ อีกคนก็เป็นวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านส่วนประกอบเครื่องยนต์ คิดประดิษฐ์ ทำงานในห้องเครื่องได้เหมือนผู้ชายทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น วิศวกรหญิงไม่ได้เป็นที่ยอมรับ แต่เธอคนนี้ก็สามารถทำให้ผู้ชายยอมรับได้ว่ามันสมองของเธอฉลาดล้ำไม่แพ้ผู้ชายที่ทำงานด้านนี้เลย ส่วนคนสุดท้ายมีความสามารถในด้านคอมพิวเตอร์ เป็นหัวหน้าทีมนักคณิตศาสตร์ที่ปราดเปรื่องอย่างมาก เธอเป็นผู้นำการพัฒนาเครื่องคิดเลขในยุคต่อมา โดยพัฒนาการใช้เครื่อง IBM เพื่อเป็นตัวช่วยในการคำนวณ

หนังชีวประวัติ คำนวณสูตรปล่อยจรวด
หนังชีวประวัติ Hidden Figures Scene
Hidden Figtures Casts
America NASA

จะเห็นว่าความอัจฉริยะของทั้งสามได้ฉายให้ทั้งโลกเห็นว่าผู้หญิงผิวสีก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำหลายๆ อย่างที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ และเป็นที่น่าเคารพยกย่องพวกเธอมากๆ หนังไม่ได้กล่าวถึงเรื่องความสามารถ และการก้าวข้ามผ่านแรงกดดันด้านความไม่เท่าเทียมเท่านั้นครับ หนังยังทำให้เห็นว่าเธอทั้งสามรับบทบาทเป็นทั้งประชากรคุณภาพ ผู้หญิงที่โลกต้องจารึก และแม่ที่ดีของลูกด้วย ด้านครอบครัวในเรื่องนี้ ฉายภาพที่แสนอบอุ่นมาก ภาระงานที่หนักไม่อาจทำให้ความเป็นแม่บกพร่องลงไปเลย พวกเธอยังคงให้เวลากับลูกๆ ครอบครัวได้เป็นอย่างดี อิ่มอกอิ่มใจจนไม่รู้จะหักคะแนนตรงไหนเลยครับเรื่องนี้

…………………….

หนังชีวประวัติ The Man Who Knew Infinity
  • The Man Who Knew Infinity อัจฉริยะโลกไม่รัก (2015)

The Man Who Knew Infinity อัจฉริยะโลกไม่รัก เป็นหนังชีวประวัติ ตำนานนักคณิตศาสตร์อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่เอามาพูดไม่ได้เลยครับ เพราะผมถือว่าเป็นหนังที่ดีมากๆ อีกเรื่อง โดยหนังเรื่องนี้ถ่ายทอดเรื่องราวของนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียที่ค่อนข้างยากจน บ้านเกิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย เขาผู้นี้มีนามว่า “ศรีนิวาสะ ไอเยนการ์ รามานุจัน” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “รามานุจัน” เขาผู้นี้มีทักษะทางคณิตศาสตร์เป็นพรสวรรค์ที่แท้จริงโดยไม่ได้เข้ารับการศึกษาที่ใดอย่างจริงจัง ด้วยอายุเพียง 12 ปี รามานุจันคิดค้นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ของตนเองได้ แต่ยังไม่อาจอธิบายเป็นสมการรูปสำเร็จได้

Ramanujan
ฉากหนึ่งจาก หนังชีวประวัติ Ramanujan

ต่อมาอายุ 17 ปี รามานุจันได้ทำวิจัยที่เกี่ยวกับทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ได้สำเร็จ ได้รับทุนเรียนต่อที่วิทยาลัยของรัฐ เขาได้ส่งตัวอย่างวิจัยของเขาบทหนึ่งไปยังมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ที่เราต่างก็รู้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยแนวหน้าระดับหัวกะทิ แต่ไม่มีใครสนใจงานวิจัยของเขาเลย แต่ก็ยังมีคนหนึ่งที่ยังมองเห็นความอัจฉริยะในตัวเขาอยู่นั่นคือ ก็อดฟรีย์ ฮาร์ดีย์ เรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังจากที่รามานุจันเข้าร่วมงานกับทางเคมบริดจ์นี่แหละครับที่น่าสนใจจนทำให้เกิดหนังชีวประวัตินักคณิตศาสตร์สนุกๆ เรื่องนี้

The Man Who Knew Infinity
The Man Who Knew Infinity Scene

แม้ว่าชีวิตของรามานุจันจะอาภัพนักเพราะเขาต้องเสียชีวิตด้วยโรคประจำตัว ทั้งยังต้องต่อสู้กับโรคซึมเศร้ามานาน เขาได้จากไปด้วยวัยเพียง 32 ปีเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามระหว่างที่เขามีชีวิตอยู่ ผมดีใจเหลือเกินที่เขาได้สร้างสรรค์ผลงานเอาไว้มากมาย ด้วยความมานะอุตสาหะ แม้จะเป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียที่ไม่ได้มั่งคั่ง โดนเหยียดหยามความสามารถจากพวกผู้ดีอังกฤษที่ร่ำเรียนในเคมบริดจ์ แต่เขาก็ยังมีคนเห็นคุณค่าในผลงานต่างๆ ดังเช่นกอดฟรีย์ ฮาร์ดีย์ที่ให้โอกาสเขาได้พิสูจน์ตัวเอง

The Man Who Knew Infinity ชีวิตที่น่าอดสูของรามานุจัน
Ramanujan Biography in Movie

ตลอดช่วงชีวิตของเขาได้สร้างทฤษฎีเฉพาะที่เป็นชื่อของเขาเอง และทำให้เราได้รู้ลึกรู้จริงเกี่ยวกับทฤษฎีจำนวนอนันต์อย่าง Infinity ด้วย อยากให้รับชมหนังชีวประวัติดีๆ เรื่องนี้ด้วยกันครับ รับรองว่าคุณจะไม่ผิดหวัง ทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจได้ดีมากๆ เลยด้วย ชีวิตเรา เรากำหนดเองได้ครับ อย่าให้คำดูถูกของใครมาทำให้หยุดฝัน ถึงแม้ชีวิตของรามานุจันจะไม่ได้สวยงามสมบูรณ์แบบนัก แต่เขาก็ได้ทิ้งผลงานที่ทำให้ชื่อเสียงเขาโด่งดังก้องโลกไว้ ณ ที่นี้แล้ว ต้องขอขอบคุณผู้กำกับ แมทธิว บราวน์จริงๆ ที่ทำให้เราได้รู้จักตัวตนของอัจฉริยะคนนี้ผ่าน หนังชีวประวัติ เรื่องนี้ครับ

ติดตามอ่านรีวิวหนัง วิจารณ์หนัง บทวิเคราะห์หนังทั่วโลกได้ที่นี่